ในวันที่โลกกำลังให้ความสำคัญกับ “ความยั่งยืน” ในทุกๆ ด้าน แน่นอนว่าภาคเอกชนโดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ เป้าหมายการบรรลุสู่การเป็นองค์กรเพื่อความยั่งยืนหรือ Sustainability เป็นภารกิจสำคัญที่จะต้องพาบริษัทไปให้ถึง ไม่ใช่แค่เพื่อผลประโยชน์ของธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่เพื่อคุณภาพชีวิตของพนักงาน รวมทั้งการเป็นองค์กรชั้นนำที่ได้รับการยอมรับจากพันธมิตรและคู่ค้าในระดับสากล

            

            

            แต่ในมุมของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข. มีหน้าที่ดูแลและบริหารเงินออมของข้าราชการ โดยนำเงินที่รับจากสมาชิกและส่วนราชการไปลงทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนกลับคืนสู่บุคคลผู้ทำงานเพื่อประชาชน และให้ความสำคัญกับแนวทางแห่งความยั่งยืนโดยลงทุนกับองค์กรที่ดำเนินธุรกิจตามหลัก Environment, Social, และ Governance (ESG) ภายใต้การกุมบังเหียนโดย ดร.ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการ กบข. ซึ่ง Reporter Journey ได้รับโอกาสพูดคุยแบบเจาะลึกถึงแนวคิดการนำ กบข. ก้าวเข้าสู่โลกของ ESG อย่างที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน

            

            กบข. ให้ความสำคัญกับแนวคิด ESG เพราะ กบข. มองเรื่องการลงทุนแบบ Sustainability หรือการลงทุนกับสิ่งที่ยั่งยืน เรามีจุดยืนว่า เราเป็นนักลงทุนสถาบันหรือที่เรียกว่าเป็น Institutional Investor ที่จะต้องลงทุนเพื่อลงทุนในระยะยาว ซึ่งการมองเรื่องระยะยาว เราจึงต้องใช้ประโยชน์จากทุกอย่างและทุกกระบวนการรอบตัวเพื่อการลงทุนที่ยั่งยืน เช่นถ้าเราโฟกัสแค่กำไร หรือการสร้างกำไรอย่างเดียว แต่ไม่มองเรื่องความยั่งยืนในระยะยาว สุดท้ายแล้วการทำแบบนั้นจะไปลด Potential return

            นักลงทุนสถาบันแบบเราจึงต้องมีจุดยืนในความเป็น “UNIVERSAL OWNER” ซึ่งหมายความว่า เมื่อคุณเป็นนักลงทุนสถาบัน คุณต้องลงทุนทั้งโลก แปลว่าคุณเป็น owner ของสินทรัพย์ทั้งโลก การที่คุณเป็นเจ้าของสินทรัพย์ทั่วโลก แปลว่าคุณต้องรับผิดชอบต่อสิ่งเหล่านั้นด้วย นี่คือจุดยืนเดียวกันของนักลงทุนสถาบัน

            กบข. มี 3 ขาหรือ 3P ที่รับผิดชอบ คือ สมาชิกกองทุน สิ่งแวดล้อม และสังคม ในส่วนของ P แรกคือ “People” ที่หมายถึงสมาชิกกองทุน กบข.มี fiduciary responsibility คือการรับผิดชอบในฐานะการเป็นผู้บริหารเงินให้กับสมาชิกกองทุน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าสมาชิกจะมีเงินเพียงพอในยามเกษียณอย่างมั่นคง

            ส่วน P ที่สองคือ “Planet” เป็นส่วนที่เข้ากับแนวคิด ESG (E-environment) ที่มองเรื่องโลกและความยั่งยืนระยะยาว

            และในส่วน P ที่สามคือ “People in General” ที่มาพร้อมกับ แนวคิด ESG (S-Social , Society) ในแง่ของสังคม สิทธิและการบริหารจัดการคน

            

            กบข. จึงยึดแนวทาง ESG และ SDG ของ UN ที่มี 17 เป้าหมายเป็นแนวคิดในการทำงานเช่นกัน โดยเรามองไปที่ Sustainable Development Goals (SDG) หรือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 ตัว คือตัวที่ 11,12 และ 13 อย่าง SDG 11, 12 ที่เกี่ยวกับเรื่องของ Sustainable Consumption, Production และ Infrastructure ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการลงทุนอยู่แล้ว ขณะเดียวกันก็ยังมี SDG13 ที่พูดถึงเรื่องของ Climate action ฉะนั้นแนวคิด ESG ในส่วนของ กบข. จึงสอดคล้องกับ SDG 11,12 และ 13

           

            ยิ่งไปกว่านั้นคือ กบข. ประกาศจุดยืนชัดเจนว่า เราจะเป็น Leader and Initiative in Thailand คือการเป็นผู้นำและเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการลงทุนแบบ ESG ของประเทศไทย เราไม่ได้จะทำแค่การลงทุน แต่เราทำ Initiative เพื่อการลงทุนที่ยั่งยืน เช่น การทำ Human Rights heat map ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ เพราะเราอยากตรวจสอบเรื่องของการจดทะเบียนและการดูแลสิทธิมนุษยชนว่า แต่ละกิจการเขาดูแลพนักงานหรือแรงงานในองค์กรกันอย่างไร เราร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ดูเคสตัวอย่างบริษัทที่เป็นท็อป 10 ของตลาดหลักทรัพย์ที่มีการบริหารทรัพยากรบุคคลดีตลอดทั้ง supply chain ขององค์กร เพื่อศึกษาจนเข้าใจและพัฒนาต่อ ซึ่งบริษัทโดยทั่วไปหรือ SME ของเราอาจไม่ได้มีทรัพยากรมากพอที่จะบริหารสิทธิมนุษยชนได้ดีเท่าท็อป 10 ของตลาดหลักทรัพย์ เราจึงต้องเป็นผู้วิเคราะห์ว่าบริษัทเหล่านี้ควรอยู่ตรงไหน มีช่องว่างอะไรบ้างที่นำบทเรียนจากท็อป 10 มาใช้ได้ 

            อีกสิ่งสำคัญคือเราจะต้องแน่ใจว่าเงินของสมาชิกกองทุนจะถูกใช้อย่างเหมาะสม ด้วยวิธีการทำ due diligence คือการไปคุยกับกิจการที่เราจะลงทุนว่าเขากำลังทำอะไร และแนวโน้มในอนาคตเป็นแบบไหน ซึ่งแม้ว่าผลตอบแทนในวันนี้อาจจะยังไม่ดี แต่ถ้าเห็นว่าในอนาคตต้องดีแน่ แบบนี้เราประนีประนอมกันในระยะสั้นเพื่อแนวโน้มการเติบโตระยะยาวได้ แต่เราจะไม่ยอมเสีย Financial return เพื่อ Social return

          

            

              โดยกระบวนการทำ due diligence มาพร้อมกับการตีค่า ESG value เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่ากิจการไหนที่เราควรลงทุน  เราจึงมีวิธีการคิดที่ซับซ้อนมากในการดีไซน์สูตรเพื่อคำนวณค่า ESG กบข. จึงทำงานร่วมกันกับ World Bank สาขาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ และได้ข้อมูลตั้งต้นในการคิดสูตรคำนวณมาจาก MSCI  เราใช้สูตรนี้ตั้งต้นอีกทีหนึ่งเพื่อให้มั่นใจว่า การคำนวณ ESG value ของกิจการต่างๆ มีที่มาที่ไป มีการชั่งน้ำหนักที่น่าเชื่อถือ 

            เราเชื่อว่านักลงทุนสถาบันมีหน้าที่สำคัญคือการพา ESG ไปข้างหน้า แต่การที่จะไปข้างหน้าแปลว่าคุณต้องค่อยๆ ขับเคลื่อนและผลักดันกิจการให้เขาไปด้วยกันกับเราในเส้นทางนี้ ว่ากันว่าถ้าคุณเห็นกิจการไหนไม่เข้าข่าย ESG แล้วเลิกลงทุน เท่ากับว่าเหมือนเอาขยะในบ้านของคุณ โยนไปใส่ข้างบ้านข้างๆ ซึ่งขยะนั้นก็ยังคงมีอยู่ แต่บ้านข้างๆ รับขยะนั้นไปแทน แล้วถ้าบ้านข้างๆ โยนต่อไปเรื่อยๆ ขยะก็จะไม่หายไปอยู่ดี หน้าที่เราคือการคุยหน้าบ้านมากกว่าว่า ขยะที่บ้านเราจะลดลงได้ยังไง กบข. ต้องจัดการยังไง ทุกอย่างจึงจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง 

กบข. มีวิธีการเลือกและพิจารณาอย่างไรว่าควรลงทุนกับธุรกิจแบบไหน

            ถ้าเป็นผู้จัดการกองทุนต่างประเทศต้องบอกว่าเราไม่ได้ stock pick ในฐานะนักลงทุนสถาบันที่เรามีเงินเป็นล้านๆ ลงทุนเราไม่สามารถไปจิ้มเอาบริษัทนั้นบริษัทนี้ได้ กระบวนการจึงสำคัญตั้งแต่ต้น เริ่มด้วยผู้จัดการกองทุนของเรา ที่เราต้องมีความมั่นใจว่าเขาจะจัดการสมาชิกกองทุนและกิจการได้ดี มากกว่านั้นคือเราต้องมีการพูดคุยกับผู้จัดการกองทุนถึง Financial Ratio และ Performance ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทำปกติอยู่แล้วในทุกไตรมาส หากมีสถานการณ์ที่ไม่ปกติเกิดขึ้น ผู้จัดการกองทุกจะต้องรายงานเราทันที ฉะนั้นทุกขั้นตอนของผู้จัดการกองทุนรัดกุมมาก

            กระบวนการพิจารณาของเรามีการตรวจสอบและพูดคุยเสมออย่างเข้มข้น แต่ถ้ามีเหตุการณ์ไม่ปกติก็ต้องรายงาน เพราะผู้จัดการกองทุนเรามีมาตรฐาน มีอำนาจในการตัดสินใจภายใต้ข้อตกลง ESG จริงๆ ที่ไม่ใช่แค่การ PR

 

กบข. พิจารณาอย่างไรเพื่อให้ไม่เกิดการลงทุนพลาด

            ถ้าเป็นการลงทุนจากตลาด เราลงทุนที่ SET50 นี่คือจักรวาลของเรา เพราะตรงนี้ถูกกรองมาชั้นหนึ่งแล้ว อีกอันหนึ่งคือ THSI ESG index ระหว่างที่เราลงทุนไป กบข. มีการประชุมผู้ถือหุ้นหรือมีการเพิ่มทุนอยู่เสมอ เราไม่เคยปล่อยให้เกิดการลงทุนในหุ้นหรือกิจการที่ดูแปลกๆ อะไรที่เคลือบแคลงใจ เราไม่ปล่อยไว้อยู่แล้ว เพราะเรามีความ conservative สูง กบข. ไม่เน้นมองหาว่า สิ่งที่น่าสนใจแต่ที่มาที่ไปไม่ชัด แต่เราลงทุนกับสิ่งที่มีความแน่นอน ทั้งความน่าเชื่อถือของหุ้นหรือกิจการนั้นๆ รวมถึงตัวผู้บริหารด้วย

กบข. มักลงทุนกับหุ้นใหญ่ที่มีพื้นฐานดีแต่อัตราการโตช้า แล้วกบข.ให้ความสำคัญกับการเติบโตแบบไหน ?

            กบข. เป็นกองทุนประเภท diversify คือการแบ่งสินทรัพย์ลงทุนหลากหลายอย่างชัดเจน กลุ่มที่เป็น passive คือกลุ่ม safety asset เป็นกลุ่มที่มีความนิ่งสงบ เช่น พันธบัตรรัฐบาล อีกกลุ่มคือ growth asset กลุ่มนี้มีความตื่นตัว เพราะต้องลุ้นกับโอกาสการสร้างผลตอบแทน ต้องมีการวิเคราะห์ กลุ่มที่สามคือ inflation linked เป็นกลุ่มที่มีไว้เพื่อป้องกันเงินเฟ้ออย่างเดียว เช่น กลุ่มโภคภัณฑ์หรือน้ำมัน ซึ่งการที่เรามีหลายกลุ่มแบบนี้คือการกระจายความเสี่ยง ซึ่งการที่เราทำแบบนี้จะสร้างความบาลานซ์อย่างแน่นอน

            ซึ่งในกลุ่ม safety asset มีสัดส่วนอยู่ที่ 60 % ตามพ.ร.บ. กบข. ข้อกำหนดการลงทุน ลงทุนในสินทรัพย์มั่นคงสูง 60% ลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง 40% และสามารถลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศได้ 60% กบข.ยังคงความเป็น conservative เอาไว้ เพราะกองทุนบำนาญจะลงทุนแบบหวือหวาได้ไม่มาก และการลงทุนระยะยาว มักเป็นสิ่งที่ให้ผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอในระยะยาวแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสร้างผลตอบแทนตอนเกษียณให้มีเงินเพียงพอ ซึ่งกลุ่ม growth asset จะเข้ามาช่วยกระจายความเสี่ยงให้กับกลุ่มหลัก ขณะเดียวกันกลุ่ม inflation linked ก็มาป้องกันเงินเฟ้อได้ สามกลุ่มนี้เลยเป็น wealth balance port ค่ะ

เทรนด์การลงทุนในปีหน้า

            เรื่องสำคัญคือ เทคโนโลยี โดยส่วนตัว เชื่อว่า ปีหน้าจะมีเรื่อง AI เข้ามาแน่นอน  AI จะตอบโจทย์ทุกอย่าง ตั้งแต่เรื่องของการประมวลผล การทำนายพยากรณ์ การจำลองแบบ จนไปถึงระบบป้องกันความปลอดภัยต่างๆ เป็นสิ่งที่ AI ทำได้ และมีนักลงทุนรวมถึงสถาบันต่างๆ เขาก็เริ่มใช้กันแล้ว พี่คงอยากฝากเรื่องเทคโนโลยีเอาไว้กับ กบข. ด้วยค่ะ